วิชา ARTI3319 เทคโนโลยีเพื่อการออกแบบนิเทศศิลป์ สาขาวิชาศิลปกรรม ภาควิชามนุษย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม คำอธิบายรายวิชา ศึกษาทฤษฎีความรู้กระบวนการ ทักษะวิธีการใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศต่างๆที่มีมาแต่เดิม(Legacy)ที่กำลังใช้อยู่ปัจจุบัน(Core) และที่กำลังพัฒนา(Emerging) เพื่อนำมาช่วยในกระบวนการคิดวิเคราะห์ การสร้างสรรค์และการนำเสนอผลงานออกแบบนิเทศศิลป์ โดยคำนึงถึงการปรับประยุกต์ใช้ทักษะกระบวนการให้เหมาะสมกับศักยภาพของผู้เรียน ระบบเศรษฐกิจพอเพียงและความต้องการของตลาดแรงงาน ผู้สอน ผศ.ประชิด ทิณบุตร ภาคเรียนที่ 2/2555 ประจำปีการศึกษา 2555
1.จุดมุ่งหมายของรายวิชา
1.1 เพื่อให้นักศึกษาตระหนักรู้ในคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ ในการใช้งานเทคโนโลยีเพื่อการออกแบบนิเทศศิลป์ (Ethical and Moral Development)
1.2 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในทฤษฎี หลักการ และกระบวนการดำเนินงานและกระบวนวิธีปฏิบัติการงานเทคโนโลยีเพื่อการออกแบบนิเทศศิลป์ (Knowledge Skills)
1.3 เพื่อให้นักศึกษาสามารถคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล การสื่อแสดงออกซึ่งทักษะทางปัญญาในการใช้งานเทคโนโลยีเพื่อการออกแบบนิเทศศิลป์ (Cognitive Skills)
1.4 เพื่อให้นักศึกษาเกิดทักษะการทำงานเป็นทีม ด้วยการมีส่วนร่วมและมีบทบาทในการรับผิดชอบในโครงงานสร้างสรรค์ผลงานกลุ่ม การปฏิบัติตนและความรับผิดชอบในภาระงานที่ได้รับมอบหมายร่วมคิดร่วมใช้ร่วมแบ่งปัน ร่วมสร้างสรรค์ สรรสาระ ด้วยการปรับประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการออกแบบนิเทศศิลป์ได้อย่างเหมาะสมตามศักยภาพ (Interpersonal Skills and Responsibility)
1.5 เพื่อให้นักศึกษามีทักษะและประสบการณ์ ในการประมาณการค่าใช้จ่าย สามารถคิดคำนวณทวนสรุปต้นทุนการสร้างสรรค์ การผลิต การนำเสนอและหรือการจำหน่ายผลงานด้านการออกแบบนิเทศศิลป์ โดยวิธีการสรุปรายงานผลและการนำเสนอเผยแพร่ผลงานด้วยตนเอง หรือเป็นหมู่คณะ ด้วยการใช้ทักษะทางการสื่อสาร รูปแบบ วิธีการ เครื่องมือและเทคโนโลยีที่เหมาะสม ได้อย่างสอดคล้อง เหมาะสมตามวิถีทางการดำเนินการประกอบวิชาชีพ และรูปแบบความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารร่วมสมัย (Analytical and Communication Skills)
1.6 เพื่อให้นักศึกษามีทักษะและประสบการณ์ ในเทคนิควิธี กระบวนการ สามารถสร้างสรรค์ผลงานและนำเสนอแฟ้มสะสมผลงานได้ ด้วยการพึ่งพาเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อการสร้างโอกาสในการประกอบวิชาชีพทั้งอิสระส่วนตัวและหรือในองค์กร ด้วยการใช้ระบบสื่อสาร รูปแบบ วิธีการ เครื่องมือและเทคโนโลยีที่เหมาะสม ได้อย่างสอดคล้องตามวิถีทางการประกอบวิชาชีพและความต้องการของตลาดแรงงาน (Psychomotor Skills)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
Post